วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่  22 ตุลาคม 2558 
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจารย์ติดเข้าร่วมประชุม เลยให้นักศึกษาทำไม้ชี้ตัวหนังสือที่แผ่นชาร์จก่อน ซึ่งมีอุปกรณ์ให้นักศึกษาอยู่แล้ว


อุปกรณ์จร้า

ทำไม้ชี้ตัวหนังสือ กับเพื่อน

เราทำไม้ชี้รูปยีราฟ

แท่แด๊ะ เสร็จแล้วจร้า

ไม้ชี้ของทุกคนในห้อง

อาจารย์สอนทำท่าประกอบเพลง ผีเสื้อ

   ก่อนที่จะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ออกมาร้องเพลงของกลุ่มตัวเอง อาจารย์ก็สอนวิธีการเตรียมตัวก่อนออกมาโดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
อย่างแรกคือ ให้คุณครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ
สอง ให้คุณครูร้องเพลงทีและท่อนและให้เด็กร้องตาม
สาม ให้เด็กร้องพร้อมกับคุณครู
สี่ ให้คุณครูทำท่าประกอบและเด็กร้องตาม

กลุ่มของฉัน นัทตี้เป็นคุณครู

การประยุกต์ใช้

   สามารถ นำวิธีที่อาจารย์สอนไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพครูในอนาคต
ไม้ชี้ที่ทำสามารถทำเป็นสื่อการเรียนอื่นๆได้
นำมาเป็นความรู้ต่อไปและทำได้จริง เนื่องจากเป็นการปฏิบัติเอง ทำให้จดจำได้ง่าย

การประเมินผล

 ประเมินตัวเอง
   มีความสุขมาก เพราะว่าตัวเองชอบทำงานประดิษฐ์ และงานที่ได้ลงมือทำเอง ซึ่งวันนี้ก็ทำไม้ชี้ คิดอยู่นานเหมือนกันค่ะว่าจะทำรูปอะไรดี จนได้ตัดสินใจทำรูปยีราฟ เพราะยีราฟคอยาว น่าจะเป็นส่วนหัวที่ชี้ตัวอักษรได้ แทนการวาดรูปตัวอักษรชี้ต่อเพิ่ม

 ประเมินเพื่อน
  เพื่อนเองก็ดูจะมีความสุขเช่นกัน ต่างพากันคุยกันว่าจะทำรูปอะไรดี ส่วนช่วงที่อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงกลุ่มตัวเอง ซึ่งเพื่อนก็ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม มีทั้งถามจริงบ้าง กวนบ้างแต่ทุกคนก็แลดูสนุกสนาน

 ประเมินอาจารย์
  อาจารย์แนะนำวิธีการเป็นคุณครูสำหรับเด็กอย่างเข้าใจง่าย และดูมีความสุขกับการที่นักศึกษาแต่ละคนแกล้งกัน จากการตอบคำถามในเพลง อาจารย์ก็ยิ้มๆ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558
เวลาเรียน  9.00-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   ก่อนเริ่มทำกิจกรรมที่ทำมาจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของฉันได้เรื่อง หอยทาก ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาแสดงเป็นบทบาทสมมุติหน้าชั้นเรียน จากเรื่องที่กลุ่มตนเองจากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ได้ให้คำแนะนำนักศึกษาแต่ละกลุ่มก่อน สำหรับคนที่จะมาเป็นตัวแทนในการเป็นคุณครูผู้สอนว่าควรต้องทำอย่างไร
 1.เริ่มจากที่คุณครูควรอ่านคำคล้องจองในเด็กฟังก่อนในรอบแรกพร้อมชี้ตามตัวอักษร
 2.จากนั้นคุณครูให้เด็กอ่านตามทีละประโยค
 3.คุณครูให้เด็กอ่านพร้อมกันกับคุณครู
 4.คุณครูถามคำถามในคำคล้องจอง 3 ข้อ กับเด็ก
 5.คุณครูควรให้โอกาสเด็กทุกคนในการตอบคำถาม และให้คำชื่นชมเด็กด้วย

อ่านคำคล้องจองหอยทาก

    จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มตามเดิม และให้นักศึกษาระดมความคิดในการแต่งเพลง โดยจะแต่งนำนองเอง หรือนำทำนองเพลงที่อาจารย์แจกให้ก็ได้ โดยแต่งเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ไปแสดงบทบาทสมมุติหน้าชั้นในวันนี้ และเขียนใส่ในกระดาษที่อาจารย์ให้และตกแต่งระบายสีรวมถึงให้คิดท่าประกอบเพลงด้วย

ร่วมกันระดมความคิดเพลง(หอยทาก)

ได้เพลงแล้ว เย้! เย้!


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-ทำให้ได้ทักษะในการฝึกสอนเด็ก เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ในการสอนที่ดีต่อไป
-นำไปประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้อื่น
-ประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ เนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติ

การประเมินผล

 ประเมินตนเอง
  มีความตั้งใจในการเรียนรู้ในสิ่งที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้มาให้ และได้มีส่วนร่วมในการตอบปัญหา รวมถึงการช่วยเพื่อนในการแต่งเพลง เกี่ยวกับหอยทาก และเป็นคนวาดภาพตกแต่งให้เพื่อนระบายสี

 ประเมินเพื่อน
  เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ให้คำแนะนำ และช่วยกันมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมคำคล้องจอง และแต่ละกลุ่มก็ตั้งใจทำงานของตัวเอง

 ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี ได้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และให้คำแนะนำ/คำปรึกษา ในการแต่งเพลงของแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2558
เวลาเรียน  9.00-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   ก่อนเริ่มเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการให้เดินร้องเพลงเป็นวงกลม แล้วร้องเพลง รำวงดอกมะลิ และทำท่ารำประกอบไปด้วย ประมาณ 4-5 รอบ และมีการให้จับคู่ หรือจับกลุ่มตามจำนวนที่อาจารย์บอก

จับคู่ไม่ทันเพื่อน จึงได้รำวง เพลงรำวงดอกมะลิกลางวง

   จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน กลุ่มละ 5-6 คน แล้วก็ถามนักศึกษาว่า ถ้าให้นักศึกษาสอนเด็กอยากจะสอนเด็กใน เรื่องอะไร ก็มีนักศึกษาแต่ละกลุ่มเสนอเรื่องที่อยากสอนมา ซึ่งกลุ่มของฉัน เสนอเรื่อง ดวงดาว หลังจากเสนอครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์จึงบอกว่า ไม่ให้เอาเรื่องที่กลุ่มตนเองเสนอมา แต่อาจารย์ให้จับฉลาก จากเรื่องที่แต่ละกลุ่มเสนอมา กลุ่มของฉันจับได้เรื่อง หอยทาก จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ และให้ทำเป็นแผนผังรากไม้ใส่ในกระดาษที่อาจารย์ให้ จากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแต่งคำคล้องจองเกี่ยวกับเรื่องที่ตนได้ โดยให้เอาเนื้อหาที่ได้จากแผนผังมาแต่งใส่ในกระดาษที่แจกให้ แต่ก่อนที่อาจารย์จะให้แต่งคำคล้องจอง อาจารย์ก็สอนนักศึกษาก่อนว่าจะต้องแต่งอย่างไร และมีตัวอย่างให้ดูด้วย

อาจารย์อธิบาย ก่อนเริ่มทำงานกลุ่ม

นั่งทำงานกลุ่ม


คำคล้องจอง พิซซ่า

คำคล้องจอง ผีเสื้อ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-นำการเรียนรู้จากการฝึกแต่งคำคล้องจองไปใช้ในการเรียนในอนาคต
-นำความรู้ที่ได้จากการระดมความคิดของเพื่อนๆ มาเป็นประสบการณ์ต่อไป
-ประยุกต์ในด้านการสอนในอนาคต
-ทำให้รู้ว่าทำอย่างไรเด็กถึงจะได้เรียนรู้คำคล้องจอง

การประเมินผล

 ประเมินตนเอง
   เนื่องจากวันนี้ไม่สบาย จึงไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเท่าไร ซึ่งในวันนี้จะมีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ฉันเองก็ช่วยเพื่อนระดมความคิดอย่างเต็มที่ ถึงร่างกายและสมองไม่ค่อยจะเอื้ออำนวยเท่าไรแต่ก็ผ่านไปด้วยดี

 ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆในห้องไม่ค่อยคุยเสียงดัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี และมีการตั้งใจทำงานกลุ่มของตนเองดี นอกจากนี้ก็ยังปรึกษา หรือถามกันระหว่างกลุ่มอื่่นได้

 ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีความพร้อมในการสอน และสอนนักศึกษาอย่างใจเย็น อาจารย์จะเดินไปดูแต่ละกลุ่มว่าทำอย่างไร และให้คำปรึกษา และคำแนะนำแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน



วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2558
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.



**  หมายเหตุ สอบกลางภาคค่ะ  **

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2558
เวลาเรียน 9.00-12.30 น.

 ***    หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์เข้าร่วมประชุมค่ะ ***